วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

หลักในการจัดการอาหาร


หลักในการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกลั้นกลั้นเรื้อรัง
ขั้นตอนที่ 1
แบ่งจานมาตรฐาน 9 นิ้ว ออกเป็น 4 ส่วน
ส่วนที่ 1 หมายถึง 1/4 ของจานเป็นหมวดข้าวแป้ง
ส่วนที่ 2 หมายถึง 1/4 ของจานเป็นอาหารหมวดเนื้อสัตว์ และอาหารทดแทนเนื้อสัตว์
ส่วนที่ 3-4 หมายถึง 1/2 ของจานเป็นอาหารหมวดผัก
ขั้นตอนที่ 2
ส่วนที่ 1 ผู้ป่วยได้รับพลังงานเพียงพอเพื่อป้องกันโรคโปรตีนถูกดึงไปใช้เป็นพลังงาน ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ ควรบริโภคข้าวแป้งอย่างน้อยมื้อละ 2 ทัพพี และควรอยู่ในปริมาณที่กำหนดเพราะถ้ามากเกินไปจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป ส่งผลต่อระบบการหายใจทำให้หายใจลำบาก
ส่วนที่ 2 หมายถึง 1/4 ของจานเป็นอาหารหมวดเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เลือกกินปลา เนื้อหมู ไก่ ไข่ ไข่ขาว โดยกินมื้อละ 4-5 ช้อนโต๊ะ หรือขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของน้ำหนักตัว
ส่วนที่ 3-4 1/2 ของจานเป็นอาหารหมวดผัก
-         ควรเลือกกินผักมื้อละ 2-3 ทัพพี
-         ควรเดลือกกินผักที่มีสีเข้มๆ เพราะมีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ คะน้า บร็อคโครี่ เห็ด ฟักทอง มะเขือเปราะ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3
ผลไม้ 1 จานเล็ก /1 ส่วน
-         ควรเลือกทานผลไม้ 1-2 จานเล็ก
-         1 จานเล็ก = 8-10 ชิ้น หรือผลไม้ขนาดกลาง 4 ผล หรือ ผลไม้ขนาดใหญ่ 1 ผล
น้ำ 1 แก้ว
-         ควรดื่มนม และผลิตภัณฑ์ของนม วันละ 1 แก้ว
-         ควรดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร เพื่อให้เสมหะไอออกได้ง่าย


อ้างอิง
https://issuu.com/hpmd165/docs/____________________________________9c860e6cf3940b


วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

สมุนไพรบำรุงรักษาปอด

ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เป็นโรคปอด


วิธีการง่ายๆ ในการดูแลตัวเองสำหรับผู้สูงอายุ คือพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยเป็นไข้หวัดหรือเริ่มมีอาการไข้หวัด ควรล้างมือสม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การดูแลตัวเองให้แข็งแรง โดยทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคปอดอักเสบได้อีกทางหนึ่ง
สมุนไพรไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งของการบำรุงรักษาปอดของเราให้แข็งแรงและห่างไกลจากโรคปอดทั้งหลาย ตัวอย่างสมุนไพรรักษาโรคปอด เช่น กระเทียม ขมิ้นชัน เพกา แก่นฝาง ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น
ฟ้าทะลายโจร : รสขม เป็นยาครอบจักรวาล สรรพคุณ กินแก้อาการอักเสบต่างๆ แก้ไข้ แก้หวัด แก้ปอดอักเสบ แก้ไอ แก้เจ็บคอ ไม่ควรกินติดต่อนานเกินเจ็ดวัน ทำให้ตับเย็น

กระเทียม : อายุรเวทใช้กระเทียมเป็นยาบำรุงร่างกาย กินเป็นยาแก้อักเสบในอก ในปอด แก้เสมหะ กระเทียมเจ็ดกลีบตำให้ละเอียด ลายน้ำผึ้งกินติดต่อกันเจ็ดวัน เพื่อขับเสมหะในระบบทางเดินหายใจ แก้หืดหอบ แก้ไอให้เสมหะแห้ง บำรุงปอด แก้ปอดพิการ แก้ปอดบวม แก้วัณโรคปอด แก้เสมหะ แก้น้ำลาบเหนียว แก้ริดสีดวงงอก

แก่นฝาง : หรือไม้ฝาง : ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงเลือด แก้ปอดพิการ แก้เสมหะ แก้ไข้

เพกา : หน้าฝนและหน้าหนาว เป็นช่วงทรมาน ที่คนแพ้อากาศจะเกิดการไอ ระคายคอ เจ็บคอ เนื่องจากหลอดลมอักเสบ หมอจีนใช้เพกาในการดูแลสุขภาพ เรื่องเกี่ยวกับปอด เพกา มีฤทธิ์เย็นมาก รสขมอมฝาด แพทย์แผนจีนใช้เมล็ดมาทำเป็นยาบำรุงปอด กระเพาะ และตับ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ร้อนใน เจ็บคอ แก้ไอ เนื่องจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และวัณโรคปอดบรรเทาอาการแน่นหน้าอก

พริกไทย : ควรกินพริกไทยเป็นเครื่องเทศที่ปรุงในอาหาร เช่นข้าวต้ม แกงจืดต่างๆ ดีกว่าที่จะใช้พริกไทยแคปซูล เพราะปริมาณพริกไทยที่มากเกินไปอาจระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้อง สรรพคุณพริกไทยขาว พริกไทยดำ แก้เสมหะเฟื่องรักษาโรคในทรวงอก อายุรเวทให้กินพริกไทยเป็นยาเพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกาย

เหง้าขิง : รสเผ็ดร้อนมีนำมันหอมระเหยที่เป็นประโยชน์ต่อหัวใจ บำรุงปอด ไล่เสมหะ ไล่ลม ให้ความอบอุ่นยามที่หนาวชื้น กลิ่นหอมทำให้หายใจสะดวก อายุรเวทให้กินน้ำขิงอุ่นๆผสมนมร้อนบำรุงร่างกายบำรุงปอด

ขิงแก่ สุดยอดอาหารบำรุงปอด ช่วยขับสารนิโคตินในผู้สูบบุหรี่
ตะไคร้ : จากตำรับยาของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ที่หลวงพ่อแนะนำกับลูกศิษย์เสมอมาคือ น้ำชาตระไคร้ ด้วยการนำต้นตระไคร้ล้างให้สะอาดใช้ส่วนที่เป็นลำต้น ใบตัดทิ้งไปได้ ตัดท่อนยาวประมาณสามนิ้ว ผ่าแยกอีกสี่ชิ้น ตากแดดให้แห้งแล้วจัดการคั่วไฟอ่อนๆพอเหลืองเป็นเส้นแข็งโค้งงอ มีกลิ่นหอมเก็บในขวดปิดฝาใช้ได้นาน ต้มดื่มต่างน้ำ ป้องกันการเกิดหวัด ไข้หวัด หืดหอบ ไอ ครั่นเนื้อครั่นตัว ขับปัสสาวะช่วยลดไอร้อนกับผู้ป่วยไข้ร้อนได้เร็วขึ้น
ขมิ้น : เป็นสมุนไพรพื้นฐานที่ใช้รักษาอาการอักเสบกับอวัยวะต่างๆมาหลายร้อยพันปี แก้ไข้เพ้อคลั่ง แก้ไข้ร้อน แก้เสมหะอายุเวทแนะนำให้กินผงขมิ้นละลายกับน้ำผึ้ง เป็นยาบำรุงปอด สมานแผลอักเสบในปอด ไทยเรามีขมิ้นแคปซูลกินเช้าเย็นได้ กับต้มเป็นน้ำสมุนไพรรวม มีตะไคร้ หัวหอม ขมิ้น จิบอุ่นๆ หายไข้หวัดเร็วมาก



อ้างอิง

นวัตกรรม

นวัตกรรม

ปอดขยับ ชีวิตขยาย



วัสดุอุปกรณ์

1. ขวดน้ำเกลือหรือขวดแอลกอฮอล์ 2 ขวด

2. สายน้าเกลือหรือสายยาง 1-2 สาย (แล้วแต่ความยาวที่ต้องการ)

3. น้าผสมสีผสมอาหาร

วิธีการใช้งาน

กรณีฝึกกล้ามเนื้อหายใจออก (Exspirator muscle) ด้วยการหายใจเข้าลึกๆและเป่าที่อุปกรณ์ยาวๆน้าจะไหลจากขวดซ้ายมือไปขวดขวามือโดยอาศัยแรงดันอากาศจากแรงเป่า ของคนไข้

- กรณีฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้า (Inspirator muscle) ด้วยการหายใจโดยการดูดอุปกรณ์เข้าลึกๆ (สังเกต ขวดจะเบี้ยวขณะดูด) แล้วปล่อยปล่อยน้ำจะไหลขวดขวามือไปขวดซ้ายมือโดยอาศัยการ แทนที่ของแรงดันขวดซ้ายมือที่คนไข้ดูดเข้าไป

เป้าหมาย

1.นวัตกรรมปอดขยับ ชีวิตขยาย (Lung shifting extend life) ใช้สำหรับฟื้นฟูสมรรถภาพปอดใน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง (COPD) , ผู้ป่วยที่เจาะปอด (On ICD at Chest) เพื่อขับของเสีย,ผู้ป่วยที่มีปัญหา กล้ามเนื้อในการหายใจอ่อนแรง และผู้ป่วยปอดแฟบ (Atelectasis) ในรายที่แพทย์ส่งปรึกษา

2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีอุปกรณ์ฝึกกล้ามเนื้อในการหายใจเฉพาะรายที่เหมาะสมและสามารถนากลับบ้าน เพื่อฝึกต่อได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

3.ช่วยประหยัดงบประมาณโรงพยาบาลในการซื้ออุปกรณ์ฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้าหรือ Triflow ที่มีราคาแพงและไม่เพียงพอต่อผู้รับบริการและต้องใช้ซ้ำกัน ไม่สามารถนำกลับบ้านได้

4.เพิ่มการขยายตัวของทรวงอก (Chest expansion ) ในขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก ลึกๆและออกแรงดูด-เป่าอุปกรณ์จะเห็นการไหลของของเหลวอย่างชัดเจนทำให้สร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย

 5. ป้องกันปอดแฟบ (Atelectasis)

การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง

1.จากการทดสอบวัดการขยายตัวของทรวงอกผู้ป่วยโดยใช้สายวัด ขณะใช้อุปกรณ์พบว่าการ ขยายตัวของทรวงอกเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างจากการใช้Triflowและขยายตัวมากกกว่าการฝึกหายใจ (Breathing Exs.) ธรรมดา 

2.ผู้ป่วยมีอุปกรณ์ฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่เหมาะสมเฉพาะรายฝึกได้ต่อเนื่องตามต้องการผู้ป่วย พึงพอใจ มีความสนใจที่จะฝึกมากขึ้นและไม่กังวลเรื่องการใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น สามารถนำกลับไปใช้ที่บ้านได้ล้างทำสะอาดได้ง่าย

อ้างอิงจาก

นางสาวบุษกร แก้วเขียว วุฒิการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขากายภาพบำบัด ตำแหน่ง นักภาพบำบัด โรงพยาบาลควนเนียง

หลักในการจัดการอาหาร

หลักในการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกลั้นกลั้นเรื้อรัง ขั้นตอนที่ 1 แบ่งจานมาตรฐาน 9 นิ้ว ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 หมายถึง 1/4  ...