วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

หลักในการจัดการอาหาร


หลักในการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกลั้นกลั้นเรื้อรัง
ขั้นตอนที่ 1
แบ่งจานมาตรฐาน 9 นิ้ว ออกเป็น 4 ส่วน
ส่วนที่ 1 หมายถึง 1/4 ของจานเป็นหมวดข้าวแป้ง
ส่วนที่ 2 หมายถึง 1/4 ของจานเป็นอาหารหมวดเนื้อสัตว์ และอาหารทดแทนเนื้อสัตว์
ส่วนที่ 3-4 หมายถึง 1/2 ของจานเป็นอาหารหมวดผัก
ขั้นตอนที่ 2
ส่วนที่ 1 ผู้ป่วยได้รับพลังงานเพียงพอเพื่อป้องกันโรคโปรตีนถูกดึงไปใช้เป็นพลังงาน ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ ควรบริโภคข้าวแป้งอย่างน้อยมื้อละ 2 ทัพพี และควรอยู่ในปริมาณที่กำหนดเพราะถ้ามากเกินไปจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป ส่งผลต่อระบบการหายใจทำให้หายใจลำบาก
ส่วนที่ 2 หมายถึง 1/4 ของจานเป็นอาหารหมวดเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เลือกกินปลา เนื้อหมู ไก่ ไข่ ไข่ขาว โดยกินมื้อละ 4-5 ช้อนโต๊ะ หรือขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของน้ำหนักตัว
ส่วนที่ 3-4 1/2 ของจานเป็นอาหารหมวดผัก
-         ควรเลือกกินผักมื้อละ 2-3 ทัพพี
-         ควรเดลือกกินผักที่มีสีเข้มๆ เพราะมีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ คะน้า บร็อคโครี่ เห็ด ฟักทอง มะเขือเปราะ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3
ผลไม้ 1 จานเล็ก /1 ส่วน
-         ควรเลือกทานผลไม้ 1-2 จานเล็ก
-         1 จานเล็ก = 8-10 ชิ้น หรือผลไม้ขนาดกลาง 4 ผล หรือ ผลไม้ขนาดใหญ่ 1 ผล
น้ำ 1 แก้ว
-         ควรดื่มนม และผลิตภัณฑ์ของนม วันละ 1 แก้ว
-         ควรดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร เพื่อให้เสมหะไอออกได้ง่าย


อ้างอิง
https://issuu.com/hpmd165/docs/____________________________________9c860e6cf3940b


วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

สมุนไพรบำรุงรักษาปอด

ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เป็นโรคปอด


วิธีการง่ายๆ ในการดูแลตัวเองสำหรับผู้สูงอายุ คือพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยเป็นไข้หวัดหรือเริ่มมีอาการไข้หวัด ควรล้างมือสม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การดูแลตัวเองให้แข็งแรง โดยทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคปอดอักเสบได้อีกทางหนึ่ง
สมุนไพรไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งของการบำรุงรักษาปอดของเราให้แข็งแรงและห่างไกลจากโรคปอดทั้งหลาย ตัวอย่างสมุนไพรรักษาโรคปอด เช่น กระเทียม ขมิ้นชัน เพกา แก่นฝาง ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น
ฟ้าทะลายโจร : รสขม เป็นยาครอบจักรวาล สรรพคุณ กินแก้อาการอักเสบต่างๆ แก้ไข้ แก้หวัด แก้ปอดอักเสบ แก้ไอ แก้เจ็บคอ ไม่ควรกินติดต่อนานเกินเจ็ดวัน ทำให้ตับเย็น

กระเทียม : อายุรเวทใช้กระเทียมเป็นยาบำรุงร่างกาย กินเป็นยาแก้อักเสบในอก ในปอด แก้เสมหะ กระเทียมเจ็ดกลีบตำให้ละเอียด ลายน้ำผึ้งกินติดต่อกันเจ็ดวัน เพื่อขับเสมหะในระบบทางเดินหายใจ แก้หืดหอบ แก้ไอให้เสมหะแห้ง บำรุงปอด แก้ปอดพิการ แก้ปอดบวม แก้วัณโรคปอด แก้เสมหะ แก้น้ำลาบเหนียว แก้ริดสีดวงงอก

แก่นฝาง : หรือไม้ฝาง : ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงเลือด แก้ปอดพิการ แก้เสมหะ แก้ไข้

เพกา : หน้าฝนและหน้าหนาว เป็นช่วงทรมาน ที่คนแพ้อากาศจะเกิดการไอ ระคายคอ เจ็บคอ เนื่องจากหลอดลมอักเสบ หมอจีนใช้เพกาในการดูแลสุขภาพ เรื่องเกี่ยวกับปอด เพกา มีฤทธิ์เย็นมาก รสขมอมฝาด แพทย์แผนจีนใช้เมล็ดมาทำเป็นยาบำรุงปอด กระเพาะ และตับ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ร้อนใน เจ็บคอ แก้ไอ เนื่องจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และวัณโรคปอดบรรเทาอาการแน่นหน้าอก

พริกไทย : ควรกินพริกไทยเป็นเครื่องเทศที่ปรุงในอาหาร เช่นข้าวต้ม แกงจืดต่างๆ ดีกว่าที่จะใช้พริกไทยแคปซูล เพราะปริมาณพริกไทยที่มากเกินไปอาจระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้อง สรรพคุณพริกไทยขาว พริกไทยดำ แก้เสมหะเฟื่องรักษาโรคในทรวงอก อายุรเวทให้กินพริกไทยเป็นยาเพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกาย

เหง้าขิง : รสเผ็ดร้อนมีนำมันหอมระเหยที่เป็นประโยชน์ต่อหัวใจ บำรุงปอด ไล่เสมหะ ไล่ลม ให้ความอบอุ่นยามที่หนาวชื้น กลิ่นหอมทำให้หายใจสะดวก อายุรเวทให้กินน้ำขิงอุ่นๆผสมนมร้อนบำรุงร่างกายบำรุงปอด

ขิงแก่ สุดยอดอาหารบำรุงปอด ช่วยขับสารนิโคตินในผู้สูบบุหรี่
ตะไคร้ : จากตำรับยาของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ที่หลวงพ่อแนะนำกับลูกศิษย์เสมอมาคือ น้ำชาตระไคร้ ด้วยการนำต้นตระไคร้ล้างให้สะอาดใช้ส่วนที่เป็นลำต้น ใบตัดทิ้งไปได้ ตัดท่อนยาวประมาณสามนิ้ว ผ่าแยกอีกสี่ชิ้น ตากแดดให้แห้งแล้วจัดการคั่วไฟอ่อนๆพอเหลืองเป็นเส้นแข็งโค้งงอ มีกลิ่นหอมเก็บในขวดปิดฝาใช้ได้นาน ต้มดื่มต่างน้ำ ป้องกันการเกิดหวัด ไข้หวัด หืดหอบ ไอ ครั่นเนื้อครั่นตัว ขับปัสสาวะช่วยลดไอร้อนกับผู้ป่วยไข้ร้อนได้เร็วขึ้น
ขมิ้น : เป็นสมุนไพรพื้นฐานที่ใช้รักษาอาการอักเสบกับอวัยวะต่างๆมาหลายร้อยพันปี แก้ไข้เพ้อคลั่ง แก้ไข้ร้อน แก้เสมหะอายุเวทแนะนำให้กินผงขมิ้นละลายกับน้ำผึ้ง เป็นยาบำรุงปอด สมานแผลอักเสบในปอด ไทยเรามีขมิ้นแคปซูลกินเช้าเย็นได้ กับต้มเป็นน้ำสมุนไพรรวม มีตะไคร้ หัวหอม ขมิ้น จิบอุ่นๆ หายไข้หวัดเร็วมาก



อ้างอิง

นวัตกรรม

นวัตกรรม

ปอดขยับ ชีวิตขยาย



วัสดุอุปกรณ์

1. ขวดน้ำเกลือหรือขวดแอลกอฮอล์ 2 ขวด

2. สายน้าเกลือหรือสายยาง 1-2 สาย (แล้วแต่ความยาวที่ต้องการ)

3. น้าผสมสีผสมอาหาร

วิธีการใช้งาน

กรณีฝึกกล้ามเนื้อหายใจออก (Exspirator muscle) ด้วยการหายใจเข้าลึกๆและเป่าที่อุปกรณ์ยาวๆน้าจะไหลจากขวดซ้ายมือไปขวดขวามือโดยอาศัยแรงดันอากาศจากแรงเป่า ของคนไข้

- กรณีฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้า (Inspirator muscle) ด้วยการหายใจโดยการดูดอุปกรณ์เข้าลึกๆ (สังเกต ขวดจะเบี้ยวขณะดูด) แล้วปล่อยปล่อยน้ำจะไหลขวดขวามือไปขวดซ้ายมือโดยอาศัยการ แทนที่ของแรงดันขวดซ้ายมือที่คนไข้ดูดเข้าไป

เป้าหมาย

1.นวัตกรรมปอดขยับ ชีวิตขยาย (Lung shifting extend life) ใช้สำหรับฟื้นฟูสมรรถภาพปอดใน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง (COPD) , ผู้ป่วยที่เจาะปอด (On ICD at Chest) เพื่อขับของเสีย,ผู้ป่วยที่มีปัญหา กล้ามเนื้อในการหายใจอ่อนแรง และผู้ป่วยปอดแฟบ (Atelectasis) ในรายที่แพทย์ส่งปรึกษา

2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีอุปกรณ์ฝึกกล้ามเนื้อในการหายใจเฉพาะรายที่เหมาะสมและสามารถนากลับบ้าน เพื่อฝึกต่อได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

3.ช่วยประหยัดงบประมาณโรงพยาบาลในการซื้ออุปกรณ์ฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้าหรือ Triflow ที่มีราคาแพงและไม่เพียงพอต่อผู้รับบริการและต้องใช้ซ้ำกัน ไม่สามารถนำกลับบ้านได้

4.เพิ่มการขยายตัวของทรวงอก (Chest expansion ) ในขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก ลึกๆและออกแรงดูด-เป่าอุปกรณ์จะเห็นการไหลของของเหลวอย่างชัดเจนทำให้สร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย

 5. ป้องกันปอดแฟบ (Atelectasis)

การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง

1.จากการทดสอบวัดการขยายตัวของทรวงอกผู้ป่วยโดยใช้สายวัด ขณะใช้อุปกรณ์พบว่าการ ขยายตัวของทรวงอกเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างจากการใช้Triflowและขยายตัวมากกกว่าการฝึกหายใจ (Breathing Exs.) ธรรมดา 

2.ผู้ป่วยมีอุปกรณ์ฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่เหมาะสมเฉพาะรายฝึกได้ต่อเนื่องตามต้องการผู้ป่วย พึงพอใจ มีความสนใจที่จะฝึกมากขึ้นและไม่กังวลเรื่องการใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น สามารถนำกลับไปใช้ที่บ้านได้ล้างทำสะอาดได้ง่าย

อ้างอิงจาก

นางสาวบุษกร แก้วเขียว วุฒิการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขากายภาพบำบัด ตำแหน่ง นักภาพบำบัด โรงพยาบาลควนเนียง

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

หน้าแรก

โรคปวดกล้ามเนื้อ
โรคไต
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหอบหืด
โรคภาวะซึมเศร้า



กรุณาคลิกดูวีดีทัศน์ด้านล่าง

ทำความรู้จักกับโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง COPD

โรคปอดอุดกลั้น


COPD (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เกิดจากปอดได้รับความเสียหายอย่างเรื้อรังจนก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคถุงลมโป่งพองและหลอดลมอักเสบเรื้อรังเกิดขึ้นร่วมกัน เช่น ไอแบบมีเสมหะ รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีดในลำคอ แน่นหน้าอก เป็นต้น

อาการของ COPD

      อาการของ COPD พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเวลาหลายปี ในช่วงแรกอาจไม่มีอาการใด ๆ มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือมีอาการแย่ลงเมื่อโรคทวีความรุนแรงขึ้น และอาการอาจกำเริบเป็นระยะเฉลี่ยปีละ 1-2 ครั้ง และอาจทำให้ทรุดป่วยทันทีทันใด ทั้งนี้ ความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นอยู่กับความเสียหายของปอดด้วยโดยอาการของ COPD ที่พบได้บ่อย ได้แก่
หอบ โดยเฉพาะเวลาต้องออกแรงหรือทำกิจวัตรประจำวัน
ไอหรือไอเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวข้นปริมาณมาก
หายใจลำบาก มีเสียงหวีดในลำคอตลอดเวลา
เกิดการติดเชื้อที่ปอดบ่อย ๆ
   อาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกว่าโรคเริ่มรุนแรง แต่อาจพบได้น้อย ได้แก่ เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด แขน ขา หรือข้อเท้าบวม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ็บแน่นหน้าอก ไอเป็นเลือด เป็นต้น หากพบอาการรุนแรงดังกล่าว หรืออาการที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงพูดหรือหายใจลำบาก ปากและเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วง หัวใจเต้นเร็ว ไม่มีอาการตื่นตัว ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

สาเหตุของ COPD             
  • การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดเนื่องจากในควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด สารและแก๊สเหล่านี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดลมและถุงลมจนนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง และทำให้ปอดเสื่อมสมรรถภาพในที่สุด ดังนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานจึงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ขณะเดียวกันผู้ที่ได้รับควันบุหรี่แม้จะไม่ได้สูบก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน
  • มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันพิษ รวมถึงการหายใจเอาสารเคมีบางอย่างเข้าไปในปอดติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นกรณีที่มักเกิดกับผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี เช่น เหมืองถ่านหิน งานเชื่อมโลหะ รวมถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิงในการประกอบอาหารและขับเคลื่อนเครื่องจักรต่างๆ
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคพร่องสาร alpha-1-antitrypsin (AAT) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ผลิตในตับแล้วหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้ปอดถูกทำลายจากสารต่างๆ โรคนี้จึงสามารถเกิดได้ทั้งกับคนวัยหนุ่มสาว สำหรับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ การขาด AAT จะเร่งให้เกิดภาวะถุงลมโป่งพองเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนักและมักพบในชาวยุโรปหรือชนชาติผิวขาวอื่นๆ
โรคประจำตัว เช่น ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดแล้วสูบบุหรี่
อายุ COPD จะค่อย ๆ เกิดอาการอย่างช้า ๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจพบโรคเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉลี่ยอายุ 40 ปีขึ้นไป
เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาจส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด ซึ่งอาจกลายเป็น COPD ได้ในภายหลัง
การวินิจฉัย COPD
การตรวจสมรรถภาพปอดโดยใช้สไปโรเมตรีย์ (Spirometry) เป็นการตรวจดูการทำงานของปอดจากการวัดปริมาตรอากาศหายใจภายในปอดและความเร็วที่หายใจออกแต่ละครั้ง โดยก่อนตรวจแพทย์อาจให้ยาพ่นขยายหลอดลมก่อน แล้วจึงค่อยให้ผู้ป่วยเป่าลมหายใจผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า สไปโรเมตรีย์ วิธีนี้ยังช่วยวินิจฉัยความรุนแรงของโรค ผลการรักษา และประสิทธิภาพของการใช้ยาได้ด้วย
การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก เป็นการเอกซเรย์ดูความผิดปกติของปอดและอวัยวะบริเวณช่วงอก ซึ่งบางรายอาจตรวจพบถุงลมโป่งพอง และวิธีนี้ช่วยให้แพทย์แยกอาการผิดปกติที่คล้ายคลึงกันออกจากโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น การติดเชื้อที่ทรวงอก มะเร็งปอด เป็นต้น
- การตรวจเลือด แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อแยกโรคบางชนิด เช่น โรคโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดแดงข้น หรือโรคถุงลมโป่งพองจากการขาดอัลฟ่า 1
การตรวจซีที สแกน เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ทำให้แพทย์ทราบรายละเอียดของความผิดปกติที่ปอดมากขึ้น และวางแผนการรักษาขั้นต่อไปได้อย่างเหมาะสม แต่อาจจำเป็นในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น เช่น ใช้ประเมินว่าผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการผ่าตัดมากน้อยแค่ไหน ตรวจหาถุงลมโป่งพอง และคัดกรองมะเร็งปอด เป็นต้น

การตรวจอื่น ๆ เช่น การวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจเสมหะดูการติดเชื้อ 

การรักษา COPD
แพทย์จะรักษาผู้ป่วยตามอาการและแนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรค เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและชะลอความรุนแรงของโรค เพราะ COPD ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง โดยการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วย ดังนี้
การเลิกสูบบุหรี่ การเกิดโรคแต่ละรายจะมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะเร่งการดำเนินโรคให้เร็วขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว
การหลีกเลี่ยงมลพิษและสารเคมี มลพิษและสารเคมีเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการของโรคแย่ลง ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หากมีความจำเป็นควรสวมเครื่องป้องกันเสมอ เพื่อลดการสูดเอาสารอันตรายเข้าสู่ร่างกาย และชะลอการกำเริบอย่างรุนแรงของโรคการใช้ยา แพทย์จะใช้ยาหลายชนิดรักษาร่วมกันตามอาการและภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยยาที่ใช้มีอยู่หลายกลุ่ม ดังนี้  
ยาขยายหลอดลม เป็นยาช่วยคลายกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ เพื่อช่วยให้หายใจง่ายขึ้น ส่วนใหญ่เป็นยาในรูปแบบสูดพ่นผ่านเครื่องมือสูดพ่นยา ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาเข้าสู่ปอดโดยตรงขณะหายใจ กลุ่มยาที่นิยมใช้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ยาชนิดออกฤทธิ์สั้น สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบเป็นระยะ เช่น ยาไอปราโทรเปียม ยาซัลบูทามอล หรือยาซัลบูทามอลใช้ร่วมกับยาไอปราโทรเปียม
ยาชนิดออกฤทธิ์ยาว ใช้ป้องกันอาการเกี่ยวกับการหายใจที่เกิดเป็นประจำ เช่น ยาไทโอโทรเปียม ยาฟอร์โมเทอรอล ยาซาลเมเทอรอล หรือเป็นยาผสมกัน 2 ชนิดขึ้นไป เช่น ใช้ยากระตุ้นตัวรับชนิดเบต้า 2 รักษาร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ มีทั้งชนิดรับประทานและสูดพ่น โดยยาพ่นสเตียรอยด์มักใช้รักษาร่วมกับยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว
ยาปฏิชีวนะ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อบริเวณทรวงอก เช่น โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคปอดบวม โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น อีกทั้งยาชนิดนี้ยังป้องกันภาวะแทรกซ้อนและอาการของโรคไม่ให้รุนแรงมากกว่าเดิมด้วย
ยาชนิดอื่น ๆ เช่น ยาทีโอฟิลลีน อาจช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น และป้องกันการกำเริบของโรค
   การรักษาอื่น ๆ เป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการระดับปานกลางถึงรุนแรง เช่น
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เป็นการรักษาที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง และให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้การปรับตัวอย่างถูกวิธี เช่น การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การรับประทานอาหาร การรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ การดูแลตนเองและอยู่ร่วมกับครอบครัว เป็นต้น
 การบำบัดด้วยออกซิเจน การบำบัดด้วยออกซิเจนจะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น เพราะผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรงมักได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจากเลือด ทำให้ต้องได้รับออกซิเจนเข้าสู่ปอดผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อต้องทำกิจกรรมใด ๆ หรืออาจให้ออกซิเจนแบบระยะยาว โดยแพทย์จะพิจารณาจากความรุนแรงของอาการ
การผ่าตัด หากรักษาด้วยยาหรือวิธีอื่นไม่ได้ผล ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยแพทย์จะพิจารณาความเหมาะสมและใช้วิธีนี้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงมากกว่าวิธีอื่น ซึ่งการผ่าตัดมีอยู่หลายประเภท เช่น การผ่าตัดถุงลมขนาดใหญ่ออก การผ่าตัดเพื่อลดขนาดปอด เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหายใจกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการปลูกถ่ายปอดสำหรับผู้ป่วยวิกฤต เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการหายใจ
การประเมินการรักษาจากความรุนแรงของโรค
แพทย์จะตรวจประเมินความรุนแรงของโรค โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 ไม่รุนแรง ไม่สามารถสังเกตอาการได้อย่างชัดเจน เป็นอาการทั่วไปที่อาจเกิดได้จากโรคอื่น ๆ แต่จะค่อย ๆ มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ผู้ป่วยอาจเริ่มไอเรื้อรังและมีเสมหะมาก การรักษาขั้นนี้จะเริ่มใช้ยาขยายหลอดลม
ระดับ 2 ปานกลาง อาการของโรคเริ่มสังเกตเห็นได้ เช่น ไอ มีเสมหะมาก หายใจลำบาก การรักษาอาจต้องใช้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว เพราะอาการคงอยู่นานและไม่หายไป
ระดับ รุนแรง อาการของโรคเกิดขึ้นถี่มากขึ้น บางครั้งอาจกำเริบฉับพลันและรุนแรงเป็นระยะ ทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมปกติได้ลำบาก แพทย์มักจะรักษาด้วยการใช้ยาควบคู่กับวิธีอื่น ๆ
ระดับ 4 รุนแรงมาก อาการที่เป็นอยู่รุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือหัวใจเกิดความผิดปกติ และอาจมีอาการกำเริบจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมตามอาการต่อไป
ภาวะแทรกซ้อนของ COPD
อาการของ COPD มักส่งผลให้การทำกิจวัตรประจำวันยากลำบากขึ้น เช่น เดินไม่สะดวก ขึ้นบันไดไม่ได้ บางรายต้องใช้เครื่องช่วยหายใจซึ่งกระทบต่อการนอนหลับ หากอาการของโรครุนแรงมากอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะอื่น ๆ ได้อีกหลายประการ เช่น
- ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง COPD อาจทำให้ความดันหลอดเลือดที่นำเลือดไปสู่ปอดเพิ่มสูงขึ้น
การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม และโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากมากกว่าเดิมและอาจมีเนื้อเยื่อปอดที่ถูกทำลายจนเสียหายได้
โรคหัวใจ ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือหัวใจข้างขวาล้มเหลว
โรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยอาจมีภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ หรือโรคปอดแตก เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด เนื่องจากโครงสร้างของปอดถูกทำลายจนเสียหาย ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ช่องอก
มะเร็งปอด ผู้ป่วย COPD มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันหลายสาเหตุ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่
-  โรคซึมเศร้า อาการของโรคอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ จนทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า หดหู่ และเกิดอารมณ์ด้านลบอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
การป้องกัน COPD
การป้องกัน COPD อาจทำได้เฉพาะบางสาเหตุ เพราะปัจจัยบางอย่างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การทราบประวัติด้านสุขภาพของตนเองและครอบครัวจะช่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้   
-     ไม่สูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง บุหรี่หรือยาสูบทุกชนิดล้วนประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และเป็นสาเหตุหลักของโรคนี้ การใช้สารเหล่านี้เป็นเวลานานจะเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคนี้สูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคพันธุกรรมจากการขาดโปรตีนอัลฟ่า 1 หรือผู้ที่เป็นโรคหืด  

       หลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ การสูดดมอากาศที่ปนเปื้อนสารเคมี ฝุ่นละออง หรือสารใด ๆ ในปริมาณมากสามารถสร้างความระคายเคืองแก่ระบบทางเดินหายใจและอาจก่อปัญหาสุขภาพตามมาได้ จึงควรสวมอุปกรณ์ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงเป็นเวลานาน


อ้างอิงจาก

https://www.pobpad.com/copd

หลักในการจัดการอาหาร

หลักในการจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกลั้นกลั้นเรื้อรัง ขั้นตอนที่ 1 แบ่งจานมาตรฐาน 9 นิ้ว ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 หมายถึง 1/4  ...